จบกัน....โซ่ขาด ทำอย่างไรดี?

จบกัน....โซ่ขาด ทำอย่างไรดี?

สำหรับนักปั่นจักรยานไม่ว่าจะเป็นมือใหม่ ปั่นขำๆ หรือมือเก่าชั่วโมงบินสูงๆ น่าจะต้องเคยเจอกับปัญหา “โซ่ขาด” กันบ้างแน่ๆ  ซึ่ง “โซ่” ในที่นี้เป็นส่วนประกอบชิ้นหนึ่งของระบบขับเคลื่อนในจักรยาน มีหน้าที่ส่งถ่ายกำลังจากขาของเราที่เหยียบบันไดผ่านตัวจานหน้า ไปสู่เฟืองหลังและล้อของจักรยาน ซึ่งตัว “โซ่” นี้ต้องรับแรงที่มากระทำไม่ใช่น้อย ไม่ว่าจะเป็น น้ำหนักตัวรถ แรงเหยียบของเรา แรงดึงของจานหน้า แรงดึงเพื่อให้ล้อหลังหมุนจะชนะแรงเสียดทานของพื้นถนน ตัว “โซ่” นั้นยังเป็นตัวสำคัญอีกอย่างที่ช่วยให้ระบบขับเคลื่อนทำงานได้อย่างราบรื่นและแม่นยำ เพราะถ้าตัวโซ่สกปรกหรือมีอาการติดขัดก็จะส่งผลให้ระบบขับเคลื่อนมีปัญหาไปด้วย  ซึ่งตัวโซ่มันก็มีอายุการใช้งานด้วยเหมือนกัน แต่ก็ไม่แน่เหมือนกันเพราะเคยเจอนักปั่นจักรยานหลายท่านใช้งานได้ถึง 3,000 กม.สบายๆ แต่ก็เจอหลายๆท่านใช้งานไม่ถึง 200 กม. ก็ขาด เอาเป็นว่าอายุการใช้งานของโซ่จักรยานนั้นน่าจะวัดด้วยหลายๆปัจจัยไม่ว่าจะเป็นจำนวนระยะทาง ความหนักเบาของการใช้งาน การบำรุงรักษา การเลือกใช้เกียร์ รวมถึงคุณภาพของตัวโซ่ด้วย

อย่างในรถจักรยานของตัวผู้เขียนเองเป็นรถประเภทเสือภูเขาที่ประกอบไว้ปั่นขำๆ มีออกทริปบ้างบางครั้ง สรุปว่าใช้งานน้อยมาก แต่วันหนึ่งลองหยิบจักรยานคันนี้มาปั่นเล่นหน้าบ้าน พอกดบันไดออกตัวไม่กี่ครั้งโซ่ก็ขาดเฉยเลย หลังจากนั้นก็มานั่งคิดดูว่าเป็นเพราะสาเหตุใด เรื่องคุณภาพของตัวโซ่ก็ไม่ธรรมดาเนื่องจากยี่ห้อนี้ขึ้นชื่อว่าดีและแพงไม่ใช่เล่น การขาดการบำรุงรักษาหรือ? ก็ไม่น่าใช่เพราะตัวเราเองก็ถอดเอามาล้างและหล่อลื่นอยู่เสมอ นั่งๆนึกไปก็คิดออกว่ารถจักรยานคันนี้เคยได้ไปออกทริปปั่นขึ้นดอยอินทนนท์เมื่อตอนต้นปี 58 ซึ่งการปั่นขึ้นดอยอินทนนท์นั้นเป็นอะไรที่หนักหนามาก ตัวโซ่นั้นยิ่งต้องรับภาระที่หนักหน่วงเป็นพิเศษกว่าทางราบ ก็เลยน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้โซ่หมดอายุไขและขาดได้แบบง่ายๆนี่เอง เมื่อ “โซ่ขาด” ก็ต้องมีการซ่อมแซมหรือตัดต่อซิครับ ยิ่งเอาให้ชัวร์ก็เปลี่ยนใหม่ไปเลยก็ได้ครับถ้ายังมีงบประมาณเหลือ...

1.จบกัน...

2.ขาดแบบง่ายๆ

3.ตัวข้อกับแกนแยกออกจากกัน

4.อุปกรณ์ที่ต้องใช้สำหรับงานนี้

5.ถ้าเปลี่ยนใหม่ก็วัดให้เท่ากับโซ่เส้นเดิม

6.ถ้าโซ่ยาวกว่าเดิมก็ตัดด้วยเครื่องมือ

7.ร้อยโซ่ตำแหน่งจานหน้าเล็ก

8.ตำแหน่งเฟือหลังเล็กและโซ่ไม่สีกับขาตีนผี

9.ใส่ข้อปลดเร็วเพื่อความสะดวกในการบำรุงรักษา

10.เอาไปลองปั่นดูไม่มีปัญหาก็เป็นอันจบ....

view